Previous Image
Next Image

info heading

info content

ภาษาเซียน
กริ๊บๆ, เดิมๆ : หมายถึง พระที่เก็บรักษาให้อยู่ในสภาพดี ไม่เคยนำมาใช้หรือถูกสัมผัสมาก่อน

ปฐมบทการพิจารณาพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่

“รู้จัก พระสมเด็จ สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา ที่ถูกทำเทียมมากมายจนนับไม่ถ้วน

ทั้งเอกลักษณ์ เนื้อพิมพ์ และตำหนิ อย่างผู้เชี่ยวชาญ”

 

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่

สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่หาต้องการมีไว้ครอบครองเป็นเจ้าของ เรียกว่าอยากได้มาก ถึงมากที่สุด ต้องยกให้พระสมเด็จในเครือของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อันได้แก่ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนับเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา การทำเทียมหรือล้อเลียนรูปแบบพิมพ์ทรงจึงมีมากมายสุดคณานับ ถึงขนาดมีผู้เคยเปรียบเทียบว่า หากนำพระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบหรือล้อพิมพ์การสร้างพระของสมเด็จโตตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันทั้งหมดมาเรียงกัน พื้นที่บนท้องสนามหลวงก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรจุพระเทียมดังกล่าวได้หมดสิ้น

การพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น สำหรับ “นักเลงพระ” ผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจและตรวจสอบดูว่าองค์พระนั้นแท้หรือเทียม เพราะพระแท้มีเอกลักษณ์หลายประการที่พิจารณาได้โดยง่าย แตกต่างชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงขนาดที่เซียนพระบางท่านสามารถแยกแยะพระสมเด็จของแท้เพียงองค์เดียวจากจำนวนพระที่กองสุมอยู่มากมายได้โดยการกวาดสายตาเพียงครั้งเดียว ซึ่งแน่นอนว่า กว่าจะถึงจุดนั้นได้ย่อมต้องผ่านประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในระดับสูงทีเดียว

สำหรับผู้ริเริ่มฝึกหัดการตรวจสอบพระเครื่อง จึงขอแนะนำหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาตรวจโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ดังนี้
ในการพิจารณาองค์พระเบื้องต้นจะต้องพิจารณาภาพรวมขององค์พระทั้งหมดก่อนว่าเป็นพิมพ์ใด ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามก็มีอยู่เพียง 4 พิมพ์เท่านั้นคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม แม้แต่ละพิมพ์จะแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีกก็ตาม แต่ “ภาพรวม” จะช่วยให้สามารถเห็นถึง “เอกลักษณ์” ของแม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ได้ชัดเจน

เอกลักษณ์หรือศิลปะของแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแม่แบบในการพิมพ์องค์พระโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น จำเป็นจะต้องยึดแม่พิมพ์เป็นหลัก ภาษานักเลงพระเขาเรียกกันว่า “ดูพิมพ์ไม่ดูเนื้อ” เหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับแม่พิมพ์ก็เพราะ ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม การแกะสลักแม่พิมพ์ถือว่าเป็นศิลปะเฉพาะตัวขององค์พระ การทำเทียมเลียนแบบพิมพ์ดั้งเดิมนั้น จะทำได้โดยการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะไม่มีทางแกะแม่พิมพ์เดิมได้เลย และอีกวิธีหนึ่งคือการถอดพิมพ์จากองค์พระแท้ซึ่งจะมีลักษณะหดเล็กและไม่คมชัด ถ้าหากใช้ความสังเกตแล้วจะสามารถพบเห็นได้โดยง่าย

มีบางท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่า การยึดแม่พิมพ์เป็นหลักนั้น เวลาถอดพิมพ์หากเกิดการเคลื่อนหรือหากพระถูกกดทับหลังจากออกจากพิมพ์ใหม่ๆ แล้วไม่เกิดการเคลื่อนของพิมพ์หรือ ขออนุญาตกราบเรียนไว้ ณ ที่นี้ว่า การกดพิมพ์พระนั้นแม้จะเกิดการเคลื่อนเวลาถอดพิมพ์หรือที่เรียกว่า “บีบพิมพ์” เอกลักษณ์ของศิลปะของแม่พิมพ์จะยังคงอยู่ โดยเฉพาะส่วนที่สูงที่สุดของแม่พิมพ์จะไม่เกิดการคลาดเคลื่อน และจุดนี้เองเป็นแหล่งรวมที่เซียนพระเรียกว่า “จุดตาย” ของการพิจารณา พระที่แม่พิมพ์ซึ่งแกะเลียนแบบไม่สามารถสร้างให้เหมือนได้ สายผมเขาจึงเรียก “สายดูพิมพ์ไม่ดูเนื้อ”

ย้อนกลับมาถึงการพิจารณาตรวจสอบเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ เบื้องต้น ก่อนอื่นเมื่อมองภาพรวมแล้วจะพบว่า องค์พระที่ประดิษฐานอยู่กลางซุ้มครอบแก้วจะมีลักษณะใหญ่โต สง่างาม ประหนึ่งพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์และวิหารของวัดต่างๆ คือมักจะอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของโบสถ์ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ จะเป็นเพียงเครื่องเสริมความสง่างามและความอลังการขององค์พระเท่านั้น เช่นเดียวกับองค์พระของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งถูกเรียกว่า “พิมพ์พระประธาน” สาเหตุนอกจากการที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจำลองมาจากพระประธานของวัดระฆังฯ แล้ว หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทั้งซุ้มครอบแก้ว และฐานทั้ง 3 ชั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เสริมให้องค์พระสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น ในส่วนองค์พระเองมีความสง่างามอยู่ในตัวและเป็นจุดศูนย์กลางสายตาทั้งหมดอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่

เมื่อได้ลักษณะภาพรวมแม่พิมพ์ใหญ่แล้วควรจดจำให้ได้ว่า พิมพ์ใหญ่แยกออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ พิมพ์มีเส้นแซมใต้หน้าตัก พิมพ์อกตัววี พิมพ์อกกระบอก และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม ทั้ง 4 พิมพ์นี้ มีเอกลักษณ์แม่พิมพ์เช่นเดียวกันอันเป็นหลักเบื้องต้นแห่งการตรวจสอบองค์พระ ที่เพียงใช้ความสังเกตด้วยตาเปล่าก็สามารถพบได้ดังนี้
– ด้านซ้ายขององค์พระจะมีจุดบรรจบของซุ้มครอบแก้วกับเส้นขอบแม่พิมพ์ ซึ่งจะมาบรรจบกันบริเวณช่วงข้อ ลำแขน ข้อศอก ขององค์พระเท่านั้น
– เนื้อหัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระจะเล็กและบางกว่าเนื้อหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระ
– หากตะแคงดูจะพบว่าพื้นราบภายในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อย
– เมื่อพลิกด้านหลังขององค์พระจะต้องมีลักษณะเฉพาะขององค์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งได้แก่ หลังสังขยา หลังกาบหมาก หลังกระดาน และหลังแผ่นเรียบ สำหรับด้านหลังขององค์พระที่จะต้องใช้ความสังเกตมากขึ้นก็คือ “หลังแผ่นเรียบ”ซึ่งต้องตรวจสอบดูรอยปูไต่อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพระสมเด็จ

ที่กล่าวมาแล้วนับเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีกเกี่ยวกับ “ตำหนิแม่พิมพ์” ขององค์พระ เช่น ลักษณะการหันพระพักตร์และลำพระองค์ ความสูงต่ำของฐานทั้งซ้ายขวาซึ่งจะไม่เท่ากัน ลักษณะของซุ้มครอบแก้ว ชายจีวร ฯลฯ

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามพิมพ์ใหญ่เบื้องต้นนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้นได้พอสมควร

ข้อมูลจากเว็บอาจารย์ราม.คอม

พระเครื่องเบญจภาคี พระนางพญา เหรียญยอดนิยม พระเหรียญเบญจภาคี พระสมเด็จ สุดยอดพระเหรียญ พระท่ากระดาน สนามพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเครื่องเมืองสยาม พระเครื่องพันธ์ทิพย์ รวมพระเครื่อง พระเครื่องออนไลน์ ประมูลพระเครื่อง พระเครื่องเมืองเหนือ ชมรมพระเครื่อง พระเครื่องเมืองสงขลา ตลาดพระเครื่อง พระเครื่องท่าพระจันทร์ หลวงปู่ทวด พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน ท่าพระจันทร์พระเครื่อง พระเครื่องเมืองลุง เว็บพระเครื่อง ราคาพระเครื่อง พระเครื่องล้านนา พระเครื่องหลวงปู่ทวด พระเครื่องสายใต้ กระดานประมูลพระเครื่อง พระเครื่องสมเด็จ พระเครื่องอุตรดิตถ์ พระเครื่องหลวงพ่อเงิน ซื้อขายพระเครื่อง หนังสือพระเครื่อง ชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ พระเครื่องเมืองอุตรดิตถ์ ตําหนิพระเครื่อง เปิดโลกพระเครื่อง พระเครื่องเมืองคอน พระเครื่องเมืองใต้ พระเครื่องเมืองระยอง พระเครื่องเมืองพิจิตร ร้านพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง ดูพระเครื่อง พระเครื่องภาคใต้ อมตะพระเครื่อง พระเครื่องหลวงพ่อคูณ พระเครื่องเมืองตรัง พระเครื่องสงขลา ประมูลพระเครื่องเมืองลุง ราคาพระเครื่องปัจจุบัน พระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องสายอีสาน พระเครื่องนครปฐม พระเครื่องเพชรบุรี